วันพฤหัสบดี

วิธีเปลี่ยนพื้นระเบียงคอนกรีตเป็นพื้นไม้ ให้อารมณ์เบาสบาย

หากอยากเปลี่ยนพื้นระเบียงคอนกรีตให้ดูเป็นพื้นไม้ ทำได้อย่างไร

พื้ระเบียงคอนกรีตหรือกระเบื้องสามารถตกแต่งใหม่ให้เป็นพื้นไม้ได้ โดยก่อนอื่นจะต้องรื้อวัสดุปิดผิวออก ทำการกะเทาะผิวพื้น แล้วเทปูนปรับระดับ จากนั้นใช้ไม้จริงหรือไม่เทียมปูทับ กรณีใช้ไม้จริงหรือไม้เทียมบางรุ่น (เช่นไม้เทียมไวนิล) จะต้องมีตงรองรับซึ่งทำให้ระดับพื้นสูงขึ้น ทางเลือกดังกล่าวจึงเหมาะกับพื้นระเบียงที่มีระดับต่ำกว่าพื้นบ้านมากพอสมควร ทั้งนี้ หากเจ้าของบ้านไม่ต้องการเพิ่มระดับพื้นระเบียงมากนัก สามารถเลือกใช้ไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์ปูบนพื้นคอนกรีตโดยตรงด้วยกาวซีเมนต์ โดยใช้ตะปูเกลียวและพุกพลาสติกช่วยยึดด้วยเพื่อเพิ่มความแน่นหนา

 ติดตั้งพื้นไม้/ไม้เทียม โดยยึดสกรูเข้ากับตงเหล็ก
ปูพื้นไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์ด้วยกาวซีเมนต์ฝังพุกพลาสติกและยึดด้วยสกรู


วันเสาร์

สาเหตุที่พื้นหินขัดแตกร้าวได้ง่าย

ทำไมพื้นหินขัดจึงแตกร้าวง่าย


พื้นหินขัดเมื่อใช้งานไปสักพักอาจมีรอยร้าวให้เห็น ซึ่งเกิดได้จาก หลายสาเหตุ ตั้งแต่ชนิดของพื้น โดยหากเป็นโครงสร้างแผ่นพื้นสำเร็จรูป มักเกิดการสั่นสะเทือนมากกว่าโครงสร้างพื้นหล่อในที่ จึงเกิดรอยร้าวได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ สาเหตุที่สำคัญที่สุดคือ ความแข็งแรงของพื้นหินขัด ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

สาเหตุที่พื้นหินขัดแตกร้าวได้ง่าย

ส่วนผสมหินขัด ควรมีสัดส่วนและคุณภาพของวัสดุที่ได้มาตรฐานนอกจากนี้ขนาดเม็ดหินที่ใช้ผสมก็มีผลด้วย หากเป็นเม็ดหินขนาดใหญ่จะมีโอกาสเกิดรอยแตกร้าวให้เห็นน้อยกว่า

ปัญหากระเบื้องปูพื้นระเบิดเกิดจากอะไร แล้วแก้ไขอย่างไร

สาเหตุกระเบื้องปูพื้นระเบิด และวิธีการแก้ไขปัญหากระเบื้องระเบิด

ปัญหากระเบื้องระเบิด คือ อาการที่แผ่นกระเบื้องปูพื้นหลุด (ระเบิด)ออกจากพื้นเป็นแผ่นๆ โดยอาจหลุดออกมาแผ่นเดียวหรือหลายแผ่น บางครั้งเกิดรอยดำบนกระเบื้อง สาเหตุส่วนใหญ่มักเป็นเพราะความชิ้นจากแหล่งต่างๆ ทั้งความชื้นใต้ดิน ความชื้นสะสมจากโครงสร้าง ความชื้นจากปัญหาน้ำท่วม หรืออาจเกิดจากการปูกระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ปูกระเบื้องชิดกันเกิดไป ไม่ได้เว้นร่อง สำหรับยาแนว รวมถึงการใช้กาวซีเมนต์และกาวยาแนวที่ไม่ได้คุณภาพ

สาเหตุกระเบื้องปูพื้นระเบิด และวิธีการแก้ไขปัญหากระเบื้องระเบิด

การปูกระเบื้องเว้นร่องยาแนว

ปูกระเบื้องโดยไม่เว้นร่องยาแนว ได้หรือไม่

การเว้นร่องระหว่างกระเบื้องเพื่อยาแนวเป็ฯเรื่องสำคัญ ซึ่งจะทำให้กระเบื้องแต่ละแผ่นเชื่อมต่อกันได้ดี ป้องกันไม่ให้น้ำ ฝุ่น สิ่งสกปรก รวมถึงแมลงเล็กๆ ลงไปสะสมระหว่างร่องหรือใต้กระเบื้อง รวมถึงเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นรองรับการหดขยายตัวของกระเบื้อง ดังนั้น จึงควรเว้นร่องยาแนวในการปูกระเบื้องพื้นผนังทุกชนิด โดยสำหรับกระเบื้องทั่วไปควรเว้นร่องยาแนวอย่างน้อย 3 มม. ส่วนกระเบื้องตัดขอบควรเว้นอย่างน้อย 2 มม.
การปูกระเบื้องเว้นร่องยาแนว

หน้าที่ของฝ้าเพดาน

ฝ้าเพดานจำเป็นต้องมีหรือไม่

หน้าที่ของฝ้าเพดานคือ ช่วยปกปิดความไม่เรียบร้อยของเพดาน ได้แก่ ชิ้นส่วนใต้คาน ใต้ท้องพื้น ท่อสายไฟต่างๆ อย่างไรก็ตาม เจ้าของบ้านบางท่านอาจเลือกตกแต่งห้องโดยไม่มีฝ้าเพดานก็ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการตกแต่งห้องโดยไม่มีฝ้าเพดานก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกแต่งห้องสไตล์ลอฟท์ (Loft) ที่เน้นความเท่แบบดิบๆ และแสดงสัจจะของวัสดุ ทั้งนี้การตกแต่งห้องแบบไม่มีฝ้าเพดาน ควรคำนึงเรื่องการเลือกวัสดุของท่อและสายไฟ รวมถึงออกแบบวิธีติดตั้งให้ดูสวยงามเป็นระเบียบด้วย

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้ว กับฝ้าเพดานลาดเอียงตามหลังคา

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้ว กับฝ้าเพดานลาดเอียงตามหลังคา

สำหรับบ้านที่สร้างเสร็จแล้วซึ่งมีฝ้าเพดานลาดเอียงไปตามหลังคานั้น การติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้วมักมีข้อจำกัด หากเปิดฝ้าเพดานเพื่อติดตั้งอาจทำได้เพียงแค่ช่วงล่างซึ่งช่างสามารถขึ้นไปยืนบนโครงสร้างได้เท่านั้น หากต้องการติดตั้งให้ทั่วถึง มักต้องรื้อกระเบื้องหลังคาออกเพื่อนำฉนวนเข้าไปติดตั้งจากทางหลังคาแทน นอกจากนี้กรณีที่หลังคามีความลาดชันมาก จะต้องใช้สกรูชนิดยาวยึดฉนวนใยแก้วเข้ากับคร่าวฝ้าเพดาน เพื่อไม่ให้ฉนวนไหลลงไปกองด้านล่าง

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้ว กับฝ้าเพดานลาดเอียงตามหลังคา

ข้อดี ของกระเบื้องหลังคาเซรามิก

กระเบื้องหลังคาเซรามิกมีข้อดีอย่างไร ?

จุดเด่นของกระเบื้องหลังคาเซรามิก คือ ระบบเคลือบสีและการเผาที่อุณหภูมิสูง (เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์เซรามิกทั่วไป) ทำให้สีสดทนทานกว่ากระเบื้องหลังคาวัสดุอื่น และหากเทียบกับรุ่นที่เคลือบผิวมันเงาด้วยกันจะพบว่า กระเบื้องหลังคาเซรามิกซึ่งมีผิวสัมผัสเรียบจะถูกชะล้างครอบสกปรกด้วยน้ำฝนได้ง่ายกว่ากระเบื้องหลังคาคอนกรีตซึ่งผิวขรุขระ จึงทำให้ดูใหม่ สะอาด และขับสีของกระเบื้องได้เด่นชัดยาวนานกว่า 

นอกจากนี้ หากหลังคาเดิมเป็นกระเบื้องคอนกรีตแต่ต้องการเปลี่ยนมาใช้กระเบื้องเซรามิครุ่นที่วางแปมนระยะห่างเท่ากัน ก็สามารถใช้โครงสร้างและแปชุดเดิมได้เลย เนื่องจากกระเบื้องเซรามิกมีน้ำหนักเบากว่ากระเบื้องคอนกรีต จึงไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น(ควรให้วิศวกรตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเดิมด้วย)

วิธีลดปัญหาบ้านร้อน ที่เกิดจากความร้อนบนหลังคา

ต้องการลดปัญหาบ้านร้อน ที่เกิดจากความร้อนบนหลังคา ต้องทำอย่างไร?

ความร้อนในบ้านกว่า 70% มักมาจากหลังคาดังนั้น หลังคาจึงเป็นตำแหน่งที่ควรหาวิธีป้องกันความร้อนเป็นอันดับแรก โดยสามารถทำได้ด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่

1.การลดความร้อนด้วยกลไกรธรรมชาติ โดยทำหลังคา 2ชั้น เพื่อให้ความร้อนระบายออกระหว่างชั้นหลังคา หรือทำหลังคาทรงสูงให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นด้านบน พร้อมทำช่องระบายความร้อน เช่น ทำช่องระบายอากาศทางหน้าบัน ใช้ฝ้าชายคาแบบมีรูระบายอากาศหรือทำระแนงระบายอากาศแทน นอกจากนี้ อาจเลือกใช้ระบบหลังคา Cool Roof System ซึ่งประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ที่ช่วยระบายความร้อนในชั้นหลังคา
2.การใช้วัสดุกันความร้อน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ช่วยสะท้อนรังสีความร้อน "อะลูมิเนียมฟอยล์" หรือวัสดุป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าสู้ต้วบ้านอย่าง ฉนวนใยแก้ว โดยมีรูปแบบวัสดุและแนวทาง การติดตั้งต่างๆ ให้เลือกดังนี้

ทั้งนี้ ระบบป้องกันความร้อนในหลังคาที่เต็มประสิทธิภาพจะช่วยลดอุณหภูมิในบ้านได้ถึง 2 องศาเซลเซียส ซึ่งผู้อาศัยจะรู้สึกถึงความแตกต่างได้มาก และช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศได้ถึง 40 %

วิธีการลดความร้อนบนพื้นดาดฟ้า ของบ้านหรืออาคาร

จะลดอุณหภูมิความร้อนบนพื้นดาดฟ้า ได้อย่างไร

พื้นที่ดาดฟ้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัสดุคอนกรีต เมื่อโดนแสงแดดมากๆ จะสะสมความร้อนและส่งผ่านมายังห้องใต้พื้นดาดฟ้า ดังนั้นจึงควรอาศัยหลักการลดความร้อนโดยการปกป้องพื้นดาดฟ้าคอนกรีตไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง เช่น พ่นสีสะท้อนความร้อน ปูวัสดุต่างๆ ทับพื้นดาดฟ้า เช่น แผ่น Solar Slab หรือเลือกทำสวนดาดฟ้าด้วยวสัดุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พื้นไม้เทียม วัสดุสำเร็จรูปสำหรับตกแต่งพื้นสวนดาดฟ้า เป็นต้น อีกวิธีที่ช่วยได้ คือ ทำหลังคาให้ร่มเงาบนดาดฟ้า


ทั้งนี้ การใช้วัสดุต่างๆ ปูทับพื้นดาดฟ้า ควรขอคำแนะนำจากวิศวกรเพื่อตรวจสอบเรื่องน้ำหนักเพิ่มเติมที่โครงสร้างจะรับได้ รวมถึงกรณีทำหลังคาจะต้องมีโครงสร้างและจุดยืนที่มั่นคงเพียงพอ นอกจากนี้ควรตรวจสอบเรื่องกฏหมายเกี่ยวกับการต่อเติมให้ดี และควรทำระบบกันซึมก่อนลงมือปรับปรุงพื้นดาดฟ้า เพราะการแก้ไขปัญหารั่วซึมภายหลังนั้น วัสดุต่างๆ ที่ติดตั้งไปจะต้องถูกรื้อออก ซึ่งสิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายอย่างมาก

วันศุกร์

การติดตั้งครอบหลังคาแบบเปียกและแบบแห้ง แตกต่างกันอย่างไร

ระบบครอบหลังคาแบบเปียกและระบบครอบหลังคาแบบแห้ง คืออะไรและมีความแตกต่างกันอย่างไร


ระบบครอบหลังคาแบบเปียก เป็นการยึดกระเบื้องครอบหลังคาด้วย "ปูนทราย" ซึ่งช่างทั่วไปรู้จักกันดี โดยปูนทรายจะต้องมีส่วนผสมได้มาตรฐาน และวางติดตั้งในปริมาณที่พอดี ไม่ล้นเกินไป หลังจากปาดแต่งให้เรียบร้อยแล้ว จะต้องเซาะร่องบังคับรอยร้าวและเจาะรูระบายน้ำด้วย ขั้นตอนเหล่านี้ต้องอาศัยฝีมือช่างผู้ชำนาญพอสมควร


ส่วนระบบครอบหลังคาแบบแห้ง หรือ "Drytech System" เป็นวิธีการปิดครอบหลังคาด้วยชุดอุปกรณ์สำเร็จรูป ในลักษณะของแผ่นรองใต้กระเบื้องครอบ แทนการใช้ปูนทราย ติดตั้งได้ง่าย ลดความเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้งระบบครอบแบบเปียกที่ไม่ได้มาตรฐาน ติดตั้งแต่ปัญหาคราบน้ำปูนเลอะกระเบ้อง ไปจนถึงปูนทรายแตกร้าวในภายหลังจนเกิดการรั่วซึมของหลังคา 

วิธีการยกพื้นชั้นล่างของบ้านเพื่อหนีน้ำท่วม

วิธีการยกพื้นชั้นล่างหนีน้ำท่วม มีวิธีการใดบ้างที่สามารถทำได้

หากต้องการยกระดับพื้นบ้านเพื่อให้พ้นระดับน้ำท่วมถึงนั้น กรณีเพิ่มระดับไม่เกิน 10-12 ซม. สามารถใช้วิธีวางอิฐมวลเบาเป็นแถวๆ เพื่อเสริมระดับก่อนเทคอนกรีตทับ (กรณีใช้คอนกรีตเทเพียงอย่างเดียว อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มจนเป็นอันตรายต่อโครงสร้าง )


แก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมจากเพดานบ้าน

หากมีน้ำรั่วซึมจากเพดาน เมื่อเปิดฝ้าออกพบว่าใต้ท้องพื้นชั้นบนแตกกะเทาะ ควรแก้ไขอย่างไรดี

กรณีนี้มักเกิดจากพื้นผิวคอนกรีตด้านบนของดาดฟ้าหรือห้องน้ำแตกร้าว น้ำจึงซึมลงและสะสมอยู่ในชั้นพื้นโครงสร้างจนทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิมและดันคอนกรีตแตกกะเทาะออกมา 

วิธีแก้ไข คือ
1.ซ่อมรอยแตกร้านที่พื้นผิวด้านบนโดยใช้ปูนสำหรับงานซ่อม 


2.เช็คระดับความลาดเอียงและเทปูนปรับระดับให้เหมาะสมก่อนจะทำระบบกันซึมให้เรียบร้อย หากเป็นพื้นห้องน้ำที่ปูกระเบื้องไว้จะต้องรื้อกระเบื้องออกก่อนซ่อมแซมพื้นปูน และเมื่อปูกระเบื้องทับใหม่ควรยาแนวให้ถูกวิธีด้วยวัสดุยาแนวที่มีคุณภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเล็ดลอดเข้าไปขังใต้กระเบื้องจนอาจเกิดการรั่วซึมถึงใต้ท้องพื้นในภายหลัง

การเลือกกระเบื้องหลังคาอย่างไร ให้เข้ากับบ้าน

วิธีการเลือกกระเบื้องหลังคาให้เข้ากับบ้าน และเหมาะสมกับบ้านสไตล์ต่างๆ

กระเบื้องหลังคา เป็นอีกวัสดุที่มีผลต่อรูปลักษณ์ของบ้านเป็นอย่างมาก จึงควรเลือกให้เข้ารูปแบบบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสไตล์บ้านหรือสี


บ้านสไตล์คลาสสิก (Classic Style) นิยมกระเบื้องรูปบบลอนในโทนสีต่างๆ โดยเฉพาะรุ่นที่ผิวมันเงาจะช่วยขับความหรูหรา และดูเข้ากับตัวบ้านในขณะเดียวกัน

ออกแบบบ้านสไตล์ ไทยประยุกต์ - Thai Oriental Style

ตัวอย่างการออกแบบบ้านสไตล์ไทยประยุกต์และการเลือกใช้วัสดุในการตกแต่ง บ้านไทย


 Thai Oriental Style บ้านสไตล์ไทยประยุกต์ สะท้อนถึงศิลปะและวิถีชีวิตแบบไทย มักใช้หลังคาทรงจั่วชัน ยกใต้ถุนสูง หรือมีชานกว้าง และนิยมใช้ไม้หรือวัสดุทดแทนไม้ในการก่อสร้าง ผสานกับการใช้ผนังก่ออิฐฉาบปูนร่วมด้วย

ไม้พื้น เอสซีจี รุ่นสมาร์ท สีรองพื้น - Floor Plank Smart SCG

ไม้พื้น เอสซีจี รุ่นสมาร์ท

ไม้พื้น เอสซีจี รุ่นสมาร์ท เป็นไม้สังเคราะห์ ผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์ แข็งแรงทนทาน ปลวกไม่กินสำหรับการใช้งานพื้นภายนอก แข็งแรงทนทานมากขึ้นด้วย เอ็กซทรูดชั่นเทคโนโลยี ไม้พื้นมีความหนาถึง 3.5 เซนติเมตร พร้อมสีรองพื้นเพื่อสะดวกในการใช้งาน

ไม้พื้น เอสซีจี รุ่นสมาร์ท - Floor Plank Smart SCG

ไม้พื้น เอสซีจี รุ่นเบสิค สีรองพื้น - Floor Plank Basic SCG

ไม้พื้น เอสซีจี รุ่นเบสิค

ไม้พื้น เอสซีจี รุ่นเบสิค เป็นไม้สังเคราะห์ ผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์ และส่วนผสมอื่น แข็งแรงทนทาน ปลวกไม่กินสำหรับการใช้งานพื้นภายนอก แข็งแรงทนทานมากขึ้นด้วย เอ็กซทรูดชั่นเทคโนโลยี ไม้พื้นมีขนาด 3 ขนาด ให้เลือกใช้ตามความสะดวก และพร้อมสีรองพื้นเพื่อสะดวกในการใช้งาน