วัสดุก่อสร้างและต่อเติมบ้าน : อันตรายจาก แร่ใยหิน ที่ช่างผู้รับเหมาและเจ้าของบ้านมักมองข้าม
แม้ว่าในปี 2549 ประเทศไทยเคยมีประกาศเพื่อให้ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน
รวมทั้งยังมีมติ ครม. อย่างชัดเจนเมื่อปีที่แล้ว (2554) เพื่อให้เลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน แต่กลับมีรายงานข่าวเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับผลสำรวจที่พบว่า “ในปี 2554
ประเทศไทยนำเข้าแร่ใยหินสูงเป็นลำดับที่ 4 ของโลก”
ซึ่งมีจำนวนมากถึง 81,411 ตัน
ซึ่งมีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก ปี 2553 ที่มีการนำเข้า 79,250
ตัน เมื่อเป็นเช่นนั้น แร่ใยหินที่นำเข้ามานั้นหายไปไหน
แร่ใยหิน หรือ(ที่บางครั้งเรียกว่า)
แอสเบสตอส (เคย)มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตวัสดุก่อสร้างแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น
กระเบื้องมุงหลังคา ฝ้าเพดาน ท่อพีวีซี หรือแม้แต่ ฉนวนกันความร้อน ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยมาจากคุณสมบัติอันพิเศษของมัน
ที่มีทนทาน มีความเหนียว ทนความร้อน ทนกรด ทนด่าง
แต่แน่นอนว่าเมื่อมีข้อดีก็ย่อมต้องมีข้อเสียเช่นกัน ด้วยลักษณะของเส้นใยที่มีขนาดเล็ก
เมื่อมีการสูดดมผ่านระบบทางเดินหายใจเข้าสู่ร่างกายไปภายในปอด
ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดแร่ใยหินเหล่านั้นให้ออกไปจากร่างกายได้
ซึ่งมีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุช่องท้อง
ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
และแน่นอนว่าผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการสูดดมเอาแร่ใยหินเหล่านี้เข้าไป
นอกจากเจ้าของบ้านผู้อยู่อาศัยแล้ว ก็คือ ช่างผู้รับเหมาหรือช่างผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งต้องสัมผัส ตัด เลื่อย เจาะ
วัสดุก่อสร้างซึ่งอาจมีส่วนผสมของแร่ใยหินอยู่เกือบทุกวัน
เมื่อหลีกเลี่ยงการทำงานไม่ได้
การป้องกันที่ดีที่สุดก็พยายามเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน (เทคโนโลยีการผลิตวัสดุก่อสร้างที่ไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน "ไฟเบอร์ซีเมนต์")
เมื่อตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว
และคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกๆ คน ผลิตภัณฑ์ตราช้างทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น
กระเบื้องหลังคา ฝ้าเพดาน ผนัง ท่อประปา หรือฉนวน ได้มีการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน
มาตั้งแต่ปี 2550 โดยได้มีการปรับปรุงเครื่องจักรและกระบวนการผลิตใหม่
โดยเลือกใช้เส้นใยสังเคราะห์และเส้นใยเซลลูโลสแทนแร่ใยหิน
โดยเส้นใยสังเคราะห์เป็นเส้นใยที่ใช้ทอเป็นผ้า และ
เซลลูโลสก็เป็นเส้นใยที่ทำมาจากไม้สน โดยผ่านกระบวนการผลิตที่มีลักษณะพิเศษ
ทำให้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าการใช้แร่ใยหิน (เทคโนโลยีและคุณสมบัติพิเศษของตราช้าง) โดยมีความเหนียวยืดหยุ่นกว่าเดิมถึง 2
เท่า แข็งแรงทนทาน ไม่หดตัว ปลวกไม่กิน
รวมทั้งกันความร้อนได้ดีขึ้นกว่าเดิมถึง 5 เท่า
และที่สำคัญที่สุดก็คือ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายนั่นเอง