การออกแบบที่พัก บ้าน ห้องน้ำ ห้องนอน สำหรับคนแก่หรือผู้สูงอายุ ออกแบบอย่างไร
คนแก่ หรือผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักต้องการการดูแลเนื่องจากมีปัญหาเรื่องการเสื่อมถอยของร่างกาย และด้วยวิทยาการทางการแพทย์ทำให้มนุษย์ยุคปัจจุบันมีอายุขัยยืนยาว ผนวกกับอัตราการเกิดที่ลดลงทำให้จำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุจะต้องใช้ชีวิตตามลำพังมากขึ้น เพราะแม้จะอาศัยร่วมกับลูกหลาน แต่สมาชิกในบ้านที่เป็นวัยหนุ่มสาวก็มักต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ออกไปทำงานนอกบ้านนอกจากนี้ การใช้งานในห้องต่างๆ เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ควรได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้องน้ำ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดอันตรายได้มากที่สุด โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกสบาย ดังต่อไปนี้
เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ตามสมควร พื้นที่ส่วนต่างๆ ของบ้านจึงควรมีการหลักออกแบบโดยเฉพาะ ให้เหมาะสมและปลอดภัยตอบสนองกับผู้สูงอายุมากที่สุด
นอกจากห้องน้ำแล้ว ยังมีอีกจุดหนึ่งที่ต้องคำนึงอย่างมาก คือ บันไดและทางลาด ควรมีสีที่แตกต่างจากบริเวณอื่นอย่างชัดเจน พร้อมโคมไฟที่ให้แสงสว่างเพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน ลูกนอนบันไดมีผิวสัมผัสไม่ลื่น มีระยะลูกตั้ง/ลูกนอน หรืออัตราส่วนทางลาดที่เหมาะสมพร้อมราวจับตลอดช่วง
การออกแบบพื้นที่ส่วนต่างๆ ในบ้านให้รองรับกับการใช้งานของผู้สูงอายุ นั้น นอกจากจะอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแล้ว ยังทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกสบายใจที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงนับเป็นการส่งเสริมทั้งสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุในเวลาเดียวกัน
เรื่องความปลอดภัย ออกแบบพื้นห้องน้ำให้เรียบต่อเนื่องกัน ไม่ใช้พื้นต่างระดับ กระเบื้องพื้นต้องไม่ลื่น มีที่นั่งอาบน้ำเพื่อลดโอกาสการพลัดตกหกล้ม มีราวจับทรงตัวในจุดต่างๆ ให้เพียงพอ โดยอย่างน้อยควรมีติดตั้งไว้บริเวณโถสุขภัณฑ์และบริเวณที่นั่งอาบน้ำเพื่อใช้พยุงตัวขณะลุกนั่ง
ตัวอย่างห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ |
การออกแบบห้องนอนสำหรับผู้สูงอายุ
ห้องนอนเป็นอีกห้องที่เราควรให้ความใส่ใจ และออกแบบห้องนอนให้เหมาะกับแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะเป็นอีกห้องที่ผู้สูงอายุใช้บ่อยไม่แพ้ ห้องน้ำ ห้องรับประทานอาหารเลยทีเดียว
สำหรับแบบห้องนอนของผู้สูงอายุนั้น ก็มีรายละเอียดที่ต้องคำนึงถึงมาก ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และควรเลือกเป็นชั้นล่าง เพื่อจะได้ไม่ต้องขึ้นลงบันไดบ่อยๆ และยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่อยากกล่าวไว้ ดังนี้เตียงนอน
ควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร มีพื้นที่ว่างโดยรอบเตียงสามด้านขั้นต่ำ 90 เซนติเมตร ระดับเตียงควรสูง 40 เซนติเมตร (สูงเท่าระดับพื้นที่ข้อพับเข่า) หัวเตียงควรมี โทรศัพท์ และสัญญาณฉุกเฉิน
พื้นที่ในห้องนอน
- ควรมีพื้นที่อย่างน้อย 10 – 12 ตร.ม. สำหรับ 1 คน (ไม่รวมพื้นที่ห้องน้ำ) และหรือ 16 – 20 ตร.ม. สำหรับ 2 คน เพื่อให้มีพื้นที่ในสำหรับงานอดิเรก และพักผ่อน
- ถ้าใช้รถเข็นต้องมีพื้นที่ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 150 ซ.ม. ให้กลับรถเข็นได้สะดวก
- ใช้วัสดุปูพื้นโทนสว่าง ที่ไม่ลื่น ไม่แข็งเกิน มีพื้นผิวเสมอกัน หลีกเลี่ยงการมีระดับ (Step) หรือพรม เพื่อป้องกันการสะดุด
- อยู่ใกล้ห้องน้ำ เพื่อสะดวกในการใช้งาน
ประตู - หน้าต่าง
- ใช้ประตูแบบบานเลื่อนที่ไม่มีรางที่พื้น และกว้างพอสำหรับให้รถเข็นผ่าน
- ลูกบิดประตูแบบก้านโยก เพื่อให้ง่ายต่อการเปิดปิด ไม่ต้องอาศัยแรงมาก
- หน้าต่าง ควรสูงจากพื้นไม่มาก หรือประมาณ 50 ซม. เพื่อให้เห็นทิวทัศน์ภายนอก รวมทั้งได้รับแสงสว่าง และระบายอากาศได้ดี
เฟอร์นิเจอร์
- ลบเหลี่ยมมุม เพื่อป้องกันอันตราย
- ตู้เสื้อผ้า แบบบานเลื่อน ที่เลื่อนง่ายไม่หนักเกินไป ราวแขวน และชั้นเสื้อผ้า อยู่ในระดับที่ผู้สูงอายุเอื้อมถึง
- ควรมีกระจกเงาในห้อง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ส่องตนเอง เป็นการกระตุ้นการรับรู้สภาพปัจจุบัน
แสงสว่าง
เลือกใช้แสงนวลเพื่อความสบายตาในการมองเห็น และมีแสงสว่างเพียงพอในการทำกิจกรรมต่างๆ
เท่านี้เราก็สามารถดูแลพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เพื่อให้ท่านมีความสุขใจ และปลอดภัย ด้วยแบบห้องนอนที่เหมาะสมได้แล้ว
หน้าต่าง
หากสามารถเปลี่ยนได้ สำหรับห้องผู้สูงอายุควรทำให้กว้างขึ้น และไม่ควรอยู่สูงเกินไป เพื่อให้สามารถมองเห็นวิวด้านนอกได้ชัดเจน รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รวมถึงบานหน้างต่างไม่ฝืดหรือลื่นเกินไป เพราะจะทำให้มีเสียงดังเวลามีลมพัด
ข้อมูลและภาพจาก : SCGbuildingmaterials