วันจันทร์

เทคนิคการระบายน้ำจากหลังคา อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิค การระบายน้ำจากหลังคา อย่างมีประสิทธิภาพ
      บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นอย่างบ้านเราต้องเจอกับฝนในแทบทุกฤดู ฝนมาเบาๆก็ไม่เท่าไหร่แต่หากฝนมาหนักๆทีไร ถ้าไม่หาทางระบายน้ำที่ดีแล้วน้ำฝนที่ตกลงมาจากหลังคาในปริมาณมากๆอาจสร้างความเสียหายให้กับตัวบ้าน หรือแม้แต่ต้นไม้ที่อยู่ด้านล่างได้ ฉะนั้นถ้าไม่อยากน้ำฝนเดินทางตามใจชอบเรามาทำวิธีกำหนดเส้นทางให้น้ำฝนลงสู่พื้นด้วยตัวเราเองกันดีกว่า



จากหลังคาสู่รางน้ำฝน
       โดยปกติน้ำจากหลังคาในบ้านโดยทั่วไปจะตกจากปลายชายคาลงสู่พื้นโดยตรง ปัจจุบันเจ้าของบ้านส่วนใหญ่จึงนิยมแก้ปัญหาด้วยการติดตั้งรางน้ำฝน ซึ่งแม้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่ก็ถือว่ามีประโยชน์คุ้มค่าเพราะในระยะยาวแล้วสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาบ้านลงไปได้ อย่างที่เราคาดไม่ถึง

อยากติดรางน้ำฝน...ต้องรู้อะไรบ้าง
      สำหรับบ้านที่ต้องการติดตั้งรางน้ำฝน สามารถทำได้ทั้งบ้านที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และบ้านที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว (แต่ไม่ได้ทำรางน้ำฝนเอาไว้) ทั้ง 2 กรณีนี้อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย จึงมีข้อแนะนำเบื้องต้นดังนี้ คือ
กรณีบ้านที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
       ควรแจ้งให้สถาปนิกและวิศวกรที่ดูแล ทำการออกแบบวางท่อระบายน้ำทิ้งให้ด้วย โดยอาจออกแบบให้น้ำฝนไหลลงในช่องปิดซ่อนเพื่อให้ดูสวยงาม ไม่เห็นท่อน้ำทิ้งเกะกะตามตัวบ้าน หรือออกแบบให้การระบายน้ำไหลลงสู่ท่อน้ำทิ้งได้โดยตรง ช่วยลดปัญหาน้ำนองรอบๆ บริเวณบ้านได้ หรือจะต่อท่อลงถังเก็บน้ำ เพื่อนำน้ำมาใช้รดน้ำต้นไม้ก็ได้
กรณีบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว
       ต้องปรึกษาผู้แทนจำหน่ายหรือบริษัทติดตั้งรางน้ำที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะการวางท่อน้ำทิ้งต้องดูเรื่องความเหมาะสมของตัวบ้าน มีการคำนวณการระบายของน้ำเพื่อให้น้ำฝนไหลได้ทันตามจำนวนท่อระบายของน้ำที่ติดตั้ง และในบางกรณีเจ้าของบ้านอาจขุดท่อระบายน้ำฝังลงดิน เพื่อหลีกเลี่ยงจุดที่น้ำไหลลงดินติดสนามหญ้าช่วยป้องกันไม่ให้น้ำเอ่อล้นท่วมสวนสวย แปลงดอกไม้ และสนามหญ้ารอบบ้าน
 

จากรางน้ำฝนลงสู่พื้น
       ปกติแล้วบริเวณช่องระบายน้ำของรางน้ำเป็ฯจุดแคบๆ ที่มีน้ำไหลผ่านปริมาณมาก หากปล่อยให้ระบายน้ำลงมาตรงๆ ความแรงของน้ำคงทำให้น้ำกระเด็นเลอะเทอะไปทั่วและยังเกิดเสีนงดังน่ารำคาญ โดยมากจึงนิยมต่อท่อให้น้ำไหลลงมาสู่ท่อระบายน้ำด้านล่าง